วันพุธที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับครู

Assignment 4
ให้นักศึกษาอธิบายรายละเอียดที่นักศึกษาได้จัดทำ "แปล"
1.คลิก การออกแบบ ที่อยู่ด้านบนขวาในหน้าบล็อกของเรา
2.คลิก รูปแบบ
3.คลิก เพิ่ม Gadget
4.จากนั้นคลิกที่"แปล" แล้วเปลี่ยนชื่อ   เป็น แปลภาษา
5.จากนั้น คลิกตกลง

Assignment 3
ให้นักศึกษาเขียนระบบการสอนวิชาอะไรก็ได้ในสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มา 1 ระบบ อธิบายรายละเอียดโดยใช้หลัก IPO มาพอสังเขป

ตอบ สอนวิชาคณิตสาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ตามหลัก IPO สามารถอธิบายได้ดังนี้

( Input )

คือ ส่วนประกอบต่างๆ ที่นำเข้าสู่ระบบได้แก่ ผู้สอน ผู้สอน ผู้เรียน หลักสูตร สิ่งอำนวยความสะดวก


ผู้สอน หรือครู
เป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะทำให้การเรียนการสอนบรรลุผลตามวัตถุประสงค์
ซึ่งขึ้นอยู่กับคุณลักษณะหลายประการได้แก่คุณลักษณะด้านพุทธิพิสัย เช่น ความรู้ ความสามารถ
ความรู้จำแนกเป็นความรู้ในเนื้อหาสาระที่สอน ความรู้ในเทคนิคการสอนต่าง ความตั้งใจในการสอน ฯลฯ
ผู้เรียน
          เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในระบบการเรียนการสอนซึ่งจะบรรลุผลสำเร็จได้ย่อมขึ้นอยู่กับคุณลักษณะของผู้เรียนหลายประการ เช่น ความถนัด ความรู้พื้นฐานเดิม ความพร้อมความสนใจและความพากเพียรในการเรียนทักษะในการเรียนรู้ ฯลฯ
 
หลักสูตร 
          หลักสูตรเป็นองค์ประกอบหลักทีจะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้

   หลักสูตรประกอบด้วยองค์ประกอบพื้นฐาน 4 ประการคือ

1.วัตถุประสงค์การเรียนรู้
1.1 เพื่อจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ การคิดเลขเร็ว ซึ่งจะนำความสนุกสนาน และ
ความพอใจให้กับเด็ก
1.2 เพื่อตระหนักและเตรียมประสบการณ์ทางการคิดเลขเร็ว ที่เหมาะสมให้กับเด็ก โดย
เน้นเสริมสร้างประสบการณ์ ร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา
1.3 ให้โอกาสเด็กได้เกิดทักษะในการคิดคำนวณ
1.4 เพื่อแนะนำความคิดรวบยอดทางคณิตศาสสตร์และความเข้าใจทางการคิดเลขที่เหมาะสมกับวัยของเด็ก

1.6 เพื่อกระตุ้นและช่วยเหลือเด็กที่ส่อแววพรสวรรค์ทางการคิดเลขเร็ว ให้มีทักษะเพิ่มขึ้น

1.7 เพื่อจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ ซึ่งจะส่งเสริมการเรียนรู้ด้านอื่น ๆ เช่นด้านการคิด ทักษะการคิดเลขเร็ว การแยกแยะตัวเลข
 

2.เนื้อหาสาระที่เรียน 
2.1การนำกิจกรรมคณิตศาสตร์มาใช้ประกอบกิจกรรมการเรียนการสอนให้สัมพันธ์กับบทเรียน สำหรับเด็กปฐมวัยนั้น มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เด็กเรียนด้วยความสนุกสนานเพลิดเพลิน ไม่เบื่อหน่ายวิชาที่เรียนเพราะเป็นการได้รับความรู้จากบทเรียน  และจะช่วยส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจ ความจำของเด็กได้ดีขึ้น

3.กิจกรรมการเรียนการสอน (รวมวิธีสอนและสื่อการเรียนการสอน) สำหรับในเด็กวัยนี้จะเป็นการเรียนรู้แบบปฎิบัติจริง เด็กจะเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัว และเด็กก็จะเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 และการทำกิจกรรมนั้นเด็กต้องทำแล้วได้ความรู้
 
สำหรับเด็กที่เรียนรู้ทางคณิตศาสตร์นั้นจะมีการพัฒนาทั้ง 3 ด้าน
1. ด้านร่างกาย  การเคลื่อนไหวจากกิจกรรมในห้องเรียน
2. ด้านสังคม  เด็กได้ร่วมกิจกรรมกับเพื่อน
3. ด้านสติปัญญา  แสดงความคิดเห็นใช้การคิดคำนวณ

4. การประเมินผล

เด็กเรียนจบชั้นอนุบาลเขาควรมีความสามารถดังนี้
       - สามารถคิดเลขได้เร็วขึ้น
       -  มีการพัฒนาด้านสมอง
        -  มีความพร้อมที่จะเข้าเรียนในระดับประถมศึกษา

          การสอนวิชาคณิตศาสตร์

     การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยอย่างเต็มศักยภาพสูงสุดนั้นฃผู้สอนจะต้องเข้าใจพัฒนาการและความสามารถตามวัยของเด็กนิตยา ประพฤติกิจ  ( 2532 : 243 )   กล่าวว่า ครูไม่ควรยึดมั่นและคิดว่าเด็กจะต้องเข้าใจแนวคิดเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ตามที่ตนได้ตั้งจุดมุ่งหมายเอาไว้ หรือคิดว่าเด็กน่าจะทำได้ เพราะเด็กแต่ละคนมีความสามารถต่างกัน และมีพื้นฐานทางครอบครัวต่างกันครูจะต้องเน้นให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริงและได้ทำกิจกรรมที่มีความหมายต่อตัวเด็กให้เด็กได้ทั้งดู ทั้งจับต้อง และทดสอบความคิดของเขาในบรรยากาศที่เป็นกันเองในชั้นเรียนหรือนอกชั้นเรียน อย่างเช่น        ที่โรงเรียนมีต้นผลไม้ ครูอาจให้เด็กชั้นประถมขึ้นไปเก็บหรือถ้าไม่มีเด็กโตครูก็จัดเก็บเองแล้วให้เด็กได้นับจำนวนผลไม้กันจริง ๆ  ถ้าหากเด็กสามารถเข้าใจการนับแล้วอาจมีการสอนเพิ่มได้โดยขึ้นไปเก็บอีกแล้วให้เด็กนับเมื่อมีการแจกผลไม้บางผลให้เด็กไปครูก็อาจตั้งคำถามเพื่อให้เด็กนับจำนวนผลไม้ที่เด็กได้มาเพิ่ม การให้เด็กได้ปฏิบัติด้วยตนเองนับเป็นสิ่งที่มีคุณประโยชน์อย่างมากต่อการเชื่อมโยงระหว่างวัตถุกับความเข้าใจทางด้านคณิตศาสตร์ของเด็กเด็กควรจะได้รับการฝึกฝนให้มีความเข้าใจหรือมีแนวคิดเกี่ยวกับคณิตศาสตร์การสอนแต่ละครั้งครูควรสอนความคิดรวบยอด (Concept) เพียงเรื่องเดียว เช่น เพิ่มหรือลดหรรษา นิลวิเชียร (2535 : 118) ได้เสนอเทคนิคและหลักการสอนคณิตศาสตร์แก่เด็กเล็กตามแนวคิดของเพียเจต์ นักทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา  ดังนี้

     1. เด็กจะสร้างความรู้ทางคณิตศาสตร์ โดยการจัดกระทำต่อวัตถุโดยวิธีธรรมชาติ หรือด้วยตนเองเท่านั้น
  2. เด็กทำความเข้าใจกระบวนการทางด้านคณิตศาสตร์หลังจากที่เด็กเข้าใจการใช้เครื่องหมายเท่านั้น
  3. เด็กควรทำความเข้าใจมโนทัศน์คณิตศาสตร์ก่อนที่จะเรียนรู้การใช้สัญลักษณ์ต่าง    ทางคณิตศาสตร์การสอนคณิตศาสตร์ให้แก่เด็กเล็กนั้น  ควรให้เด็กได้มีโอกาสทำกิจกรรมด้วยตนเองได้สัมผัสได้จัดกระทำกับวัตถุจริง ๆ  มีประสบการณ์กับสิ่งที่เป็นรูปธรรม การจัดการเรียนการสอน โดยให้เด็กได้ทำแบบฝึกหัดในสมุด หรือแม้แต่การใช้เครื่องบันทึกเสียง รูปภาพ แผ่นใส ภาพนิ่งประกอบ ก็คือ การสอนโดยใช้สื่อที่เป็นนามธรรมนั่นเอง เด็กมักจะถูกสอนให้จัดกระทำกับจำนวน เช่น บวก ลบ คูณ หาร ซึ่งอันที่จริงแล้วการเรียนในระดับเด็กเล็กและประถมศึกษาตอนต้นนั้น การสร้างมโนทัศน์มีความสำคัญกว่าการคิดคำนวณ การเริ่มสอนเด็กด้วยการให้เด็กคิดคำนวณนั้น เป็นวิธีการสอนที่ผิดอย่างยิ่ง จำนวนเครื่องหมายนามธรรมที่ไม่มีความหมายใด ๆ เด็กจะเรียนด้วยการปฏิบัติต่อวัตถุเท่านั้น  มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (2527 : 243 - 244) ให้แนวทางในการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์แก่เด็กปฐมวัย

สิ่งอำนวยความสะดวก
     อาจเรียกอีกอย่างว่า "สิ่งแวดล้อมการเรียน" เช่น ห้องเรียน สถานที่เรียน ซึ่งประกอบด้วยโต๊ะ เก้าอี้  อุปกรณ์ที่ใช้เรียน

( Process ) 

การดำเนินการสอน

      โดยการนำเอาแผนการสอนที่ตนเองเตรียมไว้มาใช้สอน หรือนำเอาตัวป้อนเป็นวัตถุดิบในระบบมาดำเนินการเพื่อให้เกิดผลผลิตตามที่ต้องการ ในการดำเนินการสอนอาจมีกิจกรรมต่างๆ หลายกิจกรรม ได้แก่ การตรวจสอบและเสริมพื้นฐานการสร้างความพร้อมในการเรียน การใช้เทคนิคการสอนต่าง ๆและอาจใช้กิจกรรมเสริมการตรวจสอบและเสริมพื้นฐาน เป็นกิจกรรมที่ทำให้ผู้สอนรู้จักผู้เรียนและได้ข้อสนเทศที่นำมาใช้ช่วยเหลือผู้เรียนที่ยังขาดพื้นฐานที่จำเป็นก่อนเรียน ให้ได้มีพื้นฐานที่พร้อมที่จะเรียนโดยไม่มีปัญหาใด ๆ
          การสร้างความพร้อมในการเรียน เมื่อเริ่มชั่วโมงเรียน โดยทั่วไปแล้ว จะมีผู้เรียนที่ยังไม่พร้อมที่จะเรียน เช่น พูดคุยกัน คิดถึงเรื่องอื่น ๆ ฯลฯ ถ้าผู้สอนเริ่มบรรยายไปเรื่อยๆ อาจไม่ได้ผลตามที่ต้องการโดยเฉพาะในช่วงต้นชั่วโมงนั้นจึงควรดึงความสนใจของผู้เรียนให้เข้าสู่การเรียนโดยเร็ว ซึ่งทำได้หลายวิธี เช่น ใช้คำถาม
ใช้สื่อโสตทัศนูปกรณ์ช่วยเร้าความสนใจ หรือยกเรื่องที่เกี่ยวข้องมาเล่าให้นักเรียนฟัง ในการสร้างความพร้อมไม่ควรใช้เวลามากเกินไป น่าจะใช้เวลาไม่เกิน 5 นาที
 


 
Output ) 

แสดงผลการเรียนรู้

 การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เรียนไปในทางที่พึงประสงค์ เป็นการพัฒนาที่ดี

เด็กเรียนจบชั้นอนุบาลเขาควรมีความสามารถดังนี้

         - สามารถคิดเลขได้เร็วขึ้น

        -  มีการพัฒนาด้านสมอง

        -  มีความพร้อมที่จะเข้าเรียนในระดับประถมศึกษา

ผลจากคุณค่าของคณิตศาสตร์ที่มีต่อการพัฒนาทางด้านจิตใจของเด็ก นักจิตวิทยาสังคมต่างให้การยอมรับและได้กล่าวถึงคุณค่าของคณิตศาสตร์ไว้ว่า

          1.  คณิตศาสตร์ก่อให้เกิดความฉลาด          

          2. คณิตศาสตร์ก่อให้เกิดการคิดเป็น
          3. คณิตศาสตร์ทำให้เด็กรู้จักการแก้ไขปัญหา


      คณิตศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่มุ่งค้นคว้าเกี่ยวกับ โครงสร้างนามธรรมที่ถูกกำหนดขึ้นผ่านทางกลุ่มของสัจพจน์ซึ่งมีการให้เหตุผลที่แน่นอนโดยใช้ตรรกศาสตร์สัญลักษณ์ และสัญกรณ์คณิตศาสตร์ เรามักนิยามโดยทั่วไปว่าคณิตศาสตร์เป็นสาขาวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบและโครงสร้าง, การเปลี่ยนแปลง, และปริภูมิ กล่าวคร่าวๆ ได้ว่าคณิตศาสตร์นั้นสนใจ "รูปร่างและจำนวน" เนื่องจากคณิตศาสตร์มิได้สร้างความรู้ผ่านกระบวนการทดลอง บางคนจึงไม่จัดว่าคณิตศาสตร์เป็นสาขาของวิทยาศาสตร์
คำว่า "คณิตศาสตร์" (คำอ่าน: คะ-นิด-ตะ-สาด) มาจากคำว่า คณิต (การนับ หรือ คำนวณ) และ ศาสตร์ (ความรู้ หรือ การศึกษา) ซึ่งรวมกันมีความหมายโดยทั่วไปว่า การศึกษาเกี่ยวกับการคำนวณ หรือ วิชาที่เกี่ยวกับการคำนวณ. คำนี้ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า
mathematics มาจากคำภาษากรีก  (máthema) แปลว่า "วิทยาศาสตร์, ความรู้, และการเรียน" และคำว่า  (mathematikós) แปลว่า "รักที่จะเรียนรู้". ในอเมริกาเหนือนิยมย่อ mathematics ว่า math ส่วนประเทศอื่นๆ ที่ใช้ภาษาอังกฤษนิยมย่อว่า maths


http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/nakhonsithamrat/kittima_th/math/sec08p02.html
 


 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

 

 
 
 
 






 
 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 
 
 
 



 


 


 
 
 
 
 
 
 
 
 

 
 

 




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น